ไอทีคืออะไร
ไอทีหมายถึง การนำเทคโนโลยีและสารสนเทศมารวมกัน รวมเป็น เทคโนโลยีสารสนเทศ "Information Technology" ย่อมากจาก IT ซึ่งแปลความหมายของเทคโนโลยีคือการสร้างมูลค่าให้กับสารสนเทศให้สามารถใช้งานได้กว้างขวางและเทคโนโลยีด้านต่างๆในปัจจุบันก็มีการนำไอทีมาใช้ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นการใช้เทคโนโลยีแบบรวบรวม จัดเก็บ ส่งต่อ ใช้งาน และสื่อสารซึ่งข้อมูลของไอทีที่มีการนำมาใช้นั้นได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆที่มีซอฟแวร์เกี่ยวกับกับตัวข้อมูลต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลจำพวก โทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรสาร วิทยุ และหนังสือพิมพ์ และอาจจะเป็นอย่างอื่นๆอีกที่มีทั่วไปภายในชีวิตประจำวัน
องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (electrinic device) ที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการกับข้อมูลที่อาจเป็นได้ ทั้งตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่าง ๆ โดยคุณสมบัติที่สำคัญของคอมพิวเตอร์คือการที่สามารถกำหนดชุดคำสั่งล่วงหน้าหรือโปรแกรมได้ (programmable) นั่นคือคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับชุดคำสั่งที่เลือกมาใช้งาน ทำให้สามารถนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวาง เช่น ใช้ในการตรวจคลื่นความถี่ของหัวใจ การฝาก - ถอนเงินในธนาคาร การตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์ เป็นต้น ข้อดีของคอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธภาพ มีความถูกต้อง และมีความรวดเร็ว
อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะเป็นงานชนิดใดก็ตาม เครื่องคอมพิวเตอร์จะมีวงจรการทำงานพื้นฐาน 4 อย่าง (IPOS cycle) คือ
อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะเป็นงานชนิดใดก็ตาม เครื่องคอมพิวเตอร์จะมีวงจรการทำงานพื้นฐาน 4 อย่าง (IPOS cycle) คือ
- รับข้อมูล (Input) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการรับข้อมูลจากหน่วยรับข้อมูล (input unit) เช่น คีบอร์ด หรือ เมาส์
- ประมวลผล (Processing) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการประมวลผลกับข้อมูล เพื่อแปลงให้อยู่ในรูปอื่นตามที่ต้องการ
- แสดงผล (Output) เครื่องคอมพิวเตอร์จะให้ผลลัพธ์จากการประมวลผลออกมายังหน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit) เช่น เครื่องพิมพ์ หรือจอภาพ
- เก็บข้อมูล (Storage) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการเก็บผลลัพธ์จากการประมวลผลไว้ในหน่วยเก็บข้อมูล เพื่อให้สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ในอนาคต
เทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม
เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม ใช้ในการติดต่อสื่อสารรับ/ส่งข้อมูลจากที่ไกล ๆ เป็นการส่งของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือที่อยู่ห่างไกลกัน ซึ่งจะช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูลหรือสารสนเทศไปยังผู้ใช้ในแหล่งต่าง ๆ เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน และทันการณ์ ซึ่งรูปแบบของข้อมูลที่รับ/ส่งอาจเป็นตัวเลข (Numeric Data) ตัวอักษร (Text) ภาพ (Image) และเสียง (Voice)
เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารหรือเผยแพร่สารสนเทศ ได้แก่ เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบโทรคมนาคมทั้งชนิดมีสายและไร้สาย เช่น ระบบโทรศัพท์, โมเด็ม, แฟกซ์, โทรเลข, วิทยุกระจายเสียง, วิทยุโทรทัศน์ เคเบิ้ลใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวฟ และดาวเทียม เป็นต้น
สำหรับกลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคมมีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน ได้แก่ ต้นแหล่งของข้อความ (Source/Sender), สื่อกลางสำหรับการรับ/ส่งข้อความ (Medium), และส่วนรับข้อความ (Sink/Decoder) ดังแผนภาพต่อไปนี้ คือ
แผนภาพแสดงกลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคม
นอกจากนี้ เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 6 รูปแบบ ดังนี้ต่อไปนี้ คือ
เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม ใช้ในการติดต่อสื่อสารรับ/ส่งข้อมูลจากที่ไกล ๆ เป็นการส่งของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือที่อยู่ห่างไกลกัน ซึ่งจะช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูลหรือสารสนเทศไปยังผู้ใช้ในแหล่งต่าง ๆ เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน และทันการณ์ ซึ่งรูปแบบของข้อมูลที่รับ/ส่งอาจเป็นตัวเลข (Numeric Data) ตัวอักษร (Text) ภาพ (Image) และเสียง (Voice)
เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารหรือเผยแพร่สารสนเทศ ได้แก่ เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบโทรคมนาคมทั้งชนิดมีสายและไร้สาย เช่น ระบบโทรศัพท์, โมเด็ม, แฟกซ์, โทรเลข, วิทยุกระจายเสียง, วิทยุโทรทัศน์ เคเบิ้ลใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวฟ และดาวเทียม เป็นต้น
สำหรับกลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคมมีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน ได้แก่ ต้นแหล่งของข้อความ (Source/Sender), สื่อกลางสำหรับการรับ/ส่งข้อความ (Medium), และส่วนรับข้อความ (Sink/Decoder) ดังแผนภาพต่อไปนี้ คือ
แผนภาพแสดงกลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคม
นอกจากนี้ เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 6 รูปแบบ ดังนี้ต่อไปนี้ คือ
- เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศ, กล้องดิจิทัล, กล้องถ่ายวีดีทัศน์, เครื่องเอกซเรย์ ฯลฯ
- เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล จะเป็นสื่อบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เช่น เทปแม่เหล็ก, จานแม่เหล็ก, จานแสงหรือจานเลเซอร์, บัตรเอทีเอ็ม ฯลฯ
- เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์
- เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์, จอภาพ, พลอตเตอร์ ฯลฯ
- เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร, เครื่องถ่ายไมโครฟิล์ม
- เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูล ได้แก่ ระบบโทรคมนาคมต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์, วิทยุกระจายเสียง, โทรเลข, เทเล็กซ์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระยะใกล้และไกล
ลักษณะของข้อมูลหรือสารสนเทศที่ส่งผ่านระบบคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ดังนี้
ข้อมูลหรือสารสนเทศที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในระบบสื่อสาร เช่น ระบบโทรศัพท์ จะมีลักษณะของสัญญาณเป็นคลื่นแบบต่อเนื่องที่เราเรียกว่า "สัญญาณอนาลอก" แต่ในระบบคอมพิวเตอร์จะแตกต่างไป เพราะระบบคอมพิวเตอร์ใช้ระบบสัญญาณไฟฟ้าสูงต่ำสลับกัน เป็นสัญญาณที่ไม่ต่อเนื่อง เรียกว่า "สัญญาณดิจิตอล" ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นจะส่งผ่านสายโทรศัพท์ เมื่อเราต้องการส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องอื่น ๆ ผ่านระบบโทรศัพท์ ก็ต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วยแปลงสัญญาณเสมอ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า "โมเด็ม" (Modem)
ข้อมูลหรือสารสนเทศที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในระบบสื่อสาร เช่น ระบบโทรศัพท์ จะมีลักษณะของสัญญาณเป็นคลื่นแบบต่อเนื่องที่เราเรียกว่า "สัญญาณอนาลอก" แต่ในระบบคอมพิวเตอร์จะแตกต่างไป เพราะระบบคอมพิวเตอร์ใช้ระบบสัญญาณไฟฟ้าสูงต่ำสลับกัน เป็นสัญญาณที่ไม่ต่อเนื่อง เรียกว่า "สัญญาณดิจิตอล" ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นจะส่งผ่านสายโทรศัพท์ เมื่อเราต้องการส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องอื่น ๆ ผ่านระบบโทรศัพท์ ก็ต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วยแปลงสัญญาณเสมอ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า "โมเด็ม" (Modem)
บทบาทของระบบสารสนเทศ
บทบาทของสารสนเทศ (Role of Information)
การนำสารสนเทศไปใช้ 3 ด้าน ดังนี้ (จิตติมา เทียมบุญประเสริฐ 2544 : 5) ด้านการวางแผน ด้านการตัดสินใจ และ ด้านการดำเนินงาน นอกจากนั้น สารสนเทศยังมีบทบาท ในเชิงเศรษฐกิจ ดังนี้ (ประภาวดี สืบสนธ์ 2543 : 7-8)
การนำสารสนเทศไปใช้ 3 ด้าน ดังนี้ (จิตติมา เทียมบุญประเสริฐ 2544 : 5) ด้านการวางแผน ด้านการตัดสินใจ และ ด้านการดำเนินงาน นอกจากนั้น สารสนเทศยังมีบทบาท ในเชิงเศรษฐกิจ ดังนี้ (ประภาวดี สืบสนธ์ 2543 : 7-8)
- ช่วยลดความเสี่ยงในการตัดสินใจ (Decision) หรือช่วยชี้แนวทางในการแก้ไขปัญหา (Problem Solving)
- ช่วย หรือสนับสนุนการจัดการ (Management) หรือการดำเนินงานขององค์การ ให้มีประสิทธิภาพและเกิด ประสิทธิผลมากขึ้น
- ใช้ทดแทนทรัพยากร (Resources) ทางกายภาพ เช่น กรณีการเรียนทางไกล ผู้เรียนที่เรียนนอกห้องเรียน จริง สามารถเรียนรู้เรื่องต่างๆ เช่นเดียวกับ ห้องเรียนจริง โดยไม่ต้องเดินทางไปเรียนที่ห้องเรียนนั้น
- ใช้ในการกำกับ ติดตาม (Monitoring) การปฏิบัติงานและการตัดสินใจ เพื่อดูความก้าวหน้าของงาน
- สารสนเทศเป็นช่องทางโน้มน้าว หรือชักจูงใจ (Motivation) ในกรณีของการโฆษณาที่ทำให้ผู้ชม, ผู้ฟัง ตัดสินใจ เลือกสินค้า หรือบริการนั้น
- สารสนเทศเป็นองค์ประกอบสำคัญของการศึกษา (Education) สำหรับการเรียนรู้ ผ่านสื่อประเภทต่างๆ
- สารสนเทศเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ส่งเสริมวัฒนธรรม และสันทนาการ (Culture & Recreation) ในด้าน ของการเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ เช่น วีดิทัศน์ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ เป็นต้น
- สารสนเทศเป็นสินค้าและบริการ (Goods & Services) ที่สามารถซื้อขายได้
- สารสนเทศเป็นทรัพยากรที่ต้องลงทุน (Investment) จึงจะได้ผลผลิตและบริการ เพื่อเป็นรากฐานของการ จัดการ และการดำเนินงาน
ระบบสารสนเทศในชีวิตประจำวัน
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
1 การประยุกต์ใช้ในสำนักงาน ปัจจุบันสำนักงานได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และสามารถัดพิมพ์ซ้ำได้เป็นจำนวนมาก อย่างเช่น งานกระจายเอกสาร งานจัดเก็บและค้นคืนเอกสาร งานจัดเตรียมสารสนเทศในลักษณะภาพ เสียง
2 การประยุกต์ใช้ในงานอุตสาหกรรม โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งนำระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เข้ามาช่วยในด้านการผลิต สั่งซื้อ การเงิน บุคลากร และงานด้านอื่นๆ
3 การประยุกตืใช้ในงานการเงินและการพาณิชย์ สถาบันการเงิน ได้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบของ ATM เพื่ออำนวยความสะดวกในการฝากถอน โอนเงิน
4 การประยุกต์ใช้ในงานการบริการการสื่อสาร ได้แก่ บริการทางโทรศัพท์ โทรทัศน์ เคเบิลทีวี ดาวเทียม
5 การประยุกต์ใช้ในงานด้ารสาธารณสุข
- ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล เป็นระบบที่ช่วยด้านเวชระเบียน ระบบข้อมูลยา การคิดเงิน
- ระบบสาธาณสุข ใช้ในการดูแลป้องกันโรคระบาดในท้องถิ่น
- ระบบผู้เชี่ยวชาญ เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้วินิจฉัยโรค หลักการคือเก็บข้อมูลต่างๆ ไว้ให้ละเอียด แล้วใช้หลักปัญญาประดิษฐ์มาช่วยวิเคราะห์
6 การประยุกต์ใช้ในการศึกษา
- การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
- การศึกษาทางไกล
- เครือข่ายการศึกษา
- การใช้งานห้องสมุด
- การใช้งานในห้องปฏิบัติการ
- การใช้ในงานประจำและงานบริหาร
แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
1. คอมพิวเตอร์ ได้มีการพัฒนาหน่วยความจำให้มีประสิทธิภาพสุงขึ้น แต่มีราคาถูกลง ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในปัจจุบันตลอดจนการนำชุดคอมพิวเตอร์ชนิดลดคำสั่งมาใช้ในการออกแบบหน่วยประเมินผล ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้เร็วขึ้นโดยใช้คำสั่งพื้นฐานง่ายๆ
2. ปัญญาประดิษฐ์ เป็นการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถในการตอบสนองกับความต้องการของมนุษย์ได้ ให้มีพฤติกรรมเลียนแบบมนุษย์ มีความเข้าใจภาษามนุษย์ รับรู้ภาษามนุษย์ได้ เช่น หุ่นยนต์ เป็นต้น
3. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศที่สนับสนุนผู้บริหารในงานระดับวางแผนนโยบายและกลยุทธ์ขององค์กร
4. การจดจำเสียงเป็นการพัฒนาเพื่อให้ผู้ใช้มามารถออกคำสั่งและตอบโต้กับคอมพิวเตอร์แทนการกดแป้นพิมพ์
5. การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิล็กทรอนิกส์ เป็นการส่งข้อมูลจากระบบคอมพิวเตอร์หนึ่งไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์อื่นโดยผ่านระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การทำธุรกิจ ค้าขาย ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง
6. เส้นใยแก้วนำแสง เป็นตัวกลางที่สามารถส่งข้อมุลข่าสารได้อย่างรวดเร็ว โดยอาศัยการส่งสัญญาณแสงผ่านเส้นใยแก้วนำแสงที่มัดรวมกัน เกิดแนวคิด ทางด่วนข้อมูล ที่เชื่อมโยงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน
7. อินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันทั่วโลกได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง โดยสมาชิกสามารถติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้
8. ระบบเครือข่าย เป็นระบบสื่อสารเครือข่ายที่ใช้ในระยะทางที่กำหนด ส่วนใหญ่จะอยุ่ในอาคารหรือในหน่วยงาน
9. การประชุมทางไกล เป็นการผสมผสานกันระหว่าง คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายโทรทัศน์ และ ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ผู้ประชุมไม่จำเป็นอยู่ในห้องประชุม ช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางและผู้ที่อยู่ห่างไกลกันมาก
10. โทรทัศน์ตามสายและผ่านดาวเทียม เป็นการส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านสื่อต่างๆไปยังผู้ชม ข้อมูลแพร่ไปได้อย่างรวดเร็วและครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง
11. เทคโนโลยีมัลติมิเดีย เป็นการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ใช้กับคอมพิวเตอรืในการเก็บข้อมูล เช่น รูปภาพ ข้อความ เสียง โดยสามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่
12. การใช้คอมพิวเตอร์ในการฝึกอบรม เป็นการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการฝึกอบรมในด้านต่างๆ หรือที่เรียกว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้
13. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ ช่วยในการออกแบบผลิตภัณฑ์ รูปแบบหีบห่อ รวมทั้งด้านการออกแบบวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมให้เหมาะกับความต้องการ
14. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิต ช่วยในการผลิตสินค้าในโรงงงานอุตสาหกรรม สามารถตรวจสอบรายละเอียดและข้อผิดพลาดของผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ได้มาตรฐาน
15. ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ เป็นการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์ทางด้าน รูปภาพและข้อมูลทางภูมิศาสตร์ มาจัดทำแผนที่ในบริเวณที่สนใจ เป็นประโยชน์ในการดำเนินกิจการต่างๆ เช่น การวางแผนยุทธศาสตร์ การขนส่ง สำรวจและป้องกันภัยธรรมชาติ การช่วยเหลือและกู้ภัย เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น