ทำไมต้องมีการออกกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ?
สังคมสารสนเทศเป็นสังคมใหม่ การอยู่ร่วมกันในสังคมสารสนเทศ จำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์ เพื่อการ อยู่ร่วมกันโดยสันติและสงบสุข เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน ทุกวันนี้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาท ในชีวิตประจำวันมีการใช้คอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารกันมาก ขณะเดียวกันก็มีผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในทางที่ไม่ถูก ไม่ควร ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ และเมื่อมีกฎหมายแล้ว ผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะปฏิเสธ ความผิดว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้
กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทยเริ่มวันที่ 15 ธันวาคม 2541 โดยคณะ กรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (กทสช) ได้ท าการศึกษาและยกร่างกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน6 ฉบับ
1. กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transactions Law)
เพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอด้วยกระดาษ อันเป็นการรองรับ
นิติสัมพันธ์ต่าง ๆ ซึ่งแต่เดิมอาจจะจัดท าขึ้นในรูปแบบของหนังสือให้เท่าเทียมกับนิติสัมพันธ์รูปแบบใหม่ที่จัดท าขึ้นให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ รวมตลอดทั้งการลงลายมือชื่อในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
และการรับฟังพยานหลักฐานที่อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
2. กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signatures Law)
เพื่อรับรองการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยกระบวนการใด ๆ ทางเทคโนโลยีให้เสมอด้วยการลง
ลายมือชื่อธรรมดา อันส่งผลต่อความเชื่อมั่นมากขึ้นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และกำหนดให้มีการกำกับดูแลการให้บริการ เกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตลอดจนการให้ บริการอื่น ที่เกี่ยวข้องกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
3. กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน (National Information Infrastructure Law)
เพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ อันได้แก่โครงข่าย
โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ สารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ และโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศสำคัญอื่น ๆ อันเป็นปัจจัยพื้นฐาน สำคัญในการพัฒนาสังคม และชุมชนโดยอาศัยกลไกของรัฐ ซึ่งรองรับเจตนารมณ์สำคัญประการหนึ่งของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 78 ในการกระจายสารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน และนับเป็ นกลไกส าคัญในการช่วยลดความเหลื่อมล้ำของสังคมอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีศักยภาพในการปกครองตนเองพัฒนาเศรษฐกิจภายในชุมชน และนำไปสู่สังคมแห่งปัญญา และการเรียนรู้
4. กฎหมายเก่ียวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law)
เพื่อก่อให้เกิดการรับรองสิทธิ และให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งอาจถูกประมวลผลเปิดเผย
หรือเผยแพร่ถึงบุคคลจ านวนมากได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วโดยอาศัยพัฒนาการทางเทคโนโลยี จนอาจ
ก่อให้เกิดการน าข้อมูลนั้นไปใช้ในทางมิชอบอันเป็ นการละเมิดต่อเจ้าของข้อมูล ทั้งนี้โดยค านึงถึงการรักษาดุลยภาพระหว่างสิทธิขั้นพื้นฐานในความเป็ นส่วนตัว เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร และความมั่นคงของรัฐ
5. กฎหมายเกี่ยวกับการกระท าความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (Computer Crime Law)
เพื่อกำหนดมาตรการทางอาญา ในการลงโทษผู้กระทำผิดต่อระบบการท างานของคอมพิวเตอร์
ระบบข้อมูล และระบบเครือข่าย ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองการอยู่ร่วมกันของสังคม
6. กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer Law)
เพื่อกำหนดกลไกสำคัญทางกฎหมายในการรองรับระบบการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งที่เป็น
การโอนเงินระหว่างสถาบันการเงิน และ ระบบการชำระเงินรูปแบบใหม่ในรูปของเงินอิเล็กทรอนิกส์
ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อระบบการทำธุรกรรมทางการเงิน และการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ผ่านการเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติ การลงพระปรมาภิไธย และการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2550 และจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 เป็ นต้นไป ดังนั้นผู้ใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ตโดยทั่วไป ผู้ให้บริการ ซึ่งรวมไปถึงหน่วยงานต่างๆ ที่เปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่ผู้อื่นหรือกลุ่มพนักงานนักศึกษาในองค์กร ควรทราบถึงรายละเอียดของพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 โดยประเทศไทยได้มีการบังคับใช้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
☆ อาชญากรรมคอมพิวเตอร์
ความหมายของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ มี 2 ประการ ได้แก่
1. การกระทำใด ๆ ก็ตาม ที่เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ อันทำให้เหยื่อได้รับความเสียหาย และทำให้ผู้กระทำได้รับผลตอบแทน
2. การกระทำผิดกฎหมายใด ๆ ซึ่งจะต้องใช้ความรู้เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ มาประกอบการกระผิด และต้องใช้ผู้มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ ในการสืบสวน ติดตาม รวบรวมหลักฐาน เพื่อการด าเนินคดี จับกุม
อาชญากรคอมพิวเตอร์จะก่ออาชญากรรมหลายรูปแบบ ซึ่งปัจจุบันทั่วโลกจัดออกเป็ น 9 ประเภท (ตามข้อมูลคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจร่างกฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์)
1. การขโมยข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งรวมถึงการขโมยประโยชน์ในการลักลอบใช้บริการ
2. อาชญากรนำเอาระบบการสื่อสารมาปกปิดความผิดของตนเอง
3. การละเมิดสิทธิ์ปลอมแปรงรูปแบบ เลียนแบบระบบซอฟต์แวร์โดยมิชอบ
4. ใช้คอมพิวเตอร์แพร่ภาพ เสียง ลามก อนาจาร และข้อมูลที่ไม่เหมาะสม
5. ใช้คอมพิวเตอร์ฟอกเงิน
6. อันธพาลทางคอมพิวเตอร์ที่เช้าไปก่อกวน ทำลายระบบสาธารณูปโภค เช่น ระบบจ่ายน้ำจ่าย
ไฟ ระบบการจราจร
7. หลอกลวงให้ร่วมค้าขายหรือลงทุนปลอม
8. แทรกแซงข้อมูลแล้วนำข้อมูลนั้นมาเป็นระโยชน์ต่อตนโดยมิชอบ เช่น ลักลอบค้นหารหัสบัตร
เครดิตของผู้อื่นมาใช้ ดักข้อมูลทางการค้าเพื่อเอาผลประโยชน์นั้นเป็นของตน
9. ใช้คอมพิวเตอร์แอบโอนเงินบัญชีผู้อื่นเข้าบัญชีตัวเอง
◣◥ กรณีศึกษาอาชญากรรมและกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
โหลดโปรแกรมหรือเพลงทางอินเทอร์เน็ตผิดกฎหมายหรือเปล่า?
การ Download โปรแกรมทางอินเทอร์เน็ตมาใช้งานแบบถูกต้องตามกฎหมายโดยไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ ก็ตอ่ เมื่อโปรแกรมที่ผ้ใช้ Download มาใช้นั้น ถูกระบุว่าเป็ นประเภท Freeware, Shareware สำหรับการโหลดเพลงทางอินเทอร์เน็ตสามารถทำได้โดยไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หากได้รับอนญุ าตแต่โดยทั่วไปแล้วค่ายเพลงมักจะไม่อนุญาต ยกเว้นจะทำเพื่อการค้า ส่วนการ Upload เพลงขึ้นบนอินเทอร์เน็ตให้คนทวั่ ไปโหลดได้ฟรี ๆ เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นคดีอาญา
ซื้อโปรแกรมลิขสิทธิ์มา copy แจกเพื่อนได้หรือเปล่า?
การทำ สำเนาหรือการ copy โปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น ตามกฎหมายลิขสิทธิ์เขาเรียกว่า การทำซ้ำซึ่ง ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ แม้กฎหมายเขาจะมีข้อยกเว้นให้การทำสำเนาโดยเจ้าของโปรแกรมมีลิขสิทธิ์ ทำได้โดยไม่ผิดกฎหมาย แต่กฎหมายเขาจำกัดจ านวนสำเนาว่า ให้มีจำนวนตามสมควรเพื่อวัตถุประสงค์ในการบา รุงรักษาหรือป้องกันการสูญหาย คือทำสำเนาได้เฉพาะ backup ถ้าจะมา copy แจกเพื่อน ๆ ทัั้ง office ก็ถือว่ามีความผิดในเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ
คำแนะนำเพื่อป้องกันการกระทำความผิด
ไฟล์วอลส่วนตัว (Personal Firewall)
ไฟล์วอลล์ส่วนตัวคือซอฟแวร์ที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัวซึ่งท าหน้าที่ป้องกันผู้บุกรุกหรือผู้ไม่
ประสงค์ดีเข้ามาในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัวของเราหรือช่วยป้องกันโปรแกรมที่ไม่ประสงค์ดี เช่น ไวรัส โทรจัน
สปายแวร์ ถูกติดตั้งลงไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัวโดยที่เราไม่ทราบหรือไม่รู้ตัว ดังนั้นเราควรติดตั้งไฟล์วอลล์
ส่วนตัวโดยสามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บ การสวมรอยบุคคล (Identity Theft) ในปัจจุบัน การขโมยและการฉ้อฉลนั้น สามารถกระทำได้กับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ในเครื่อง คอมพิวเตอร์ ทั้งนี้เนื่องจากปัจจุบันเอกสารส าคัญที่ใช้ระบุตัวตนมากมายได้ถูกจัดเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์และ อาจเข้าถึงได้ โดยผู้บุกรุกโดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การขโมยเอกสารส าคัญนั้นอาจน าไปสู่การสวมรอยเป็นตัว บุคคลผู้เป็นเจ้าของเอกสารนั้น และอาจใช้ในการดำเนินเรื่องต่าง ๆ แทนเจ้าของโดยมิได้รับอนุญาตซึ่งเป็นการ กระทำที่ผิดกฎหมาย เช่นการขโมยบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่านเพื่อทำการลอ็กอินเข้าไปซื้อสินค้า ผลที่เกิดขึ้นต่อผู้ที่ถูกสวมรอย ได้แก่ เสียประวัติทางด้านการเงิน เสียชื่อเสียง และอื่นๆ คำแนะนำก็คือ ให้ระมัดระวังไม่เปิดเผยข้อมูล ส่วนตัวเกินความจำเป็น ระวังการให้ข้อมูลเกี่ยวกับบัตรเครดิต เปลี่ยนรหัสผ่านบ่อย ๆ
อีเมล์หลอกลวง (Instant Scams) ปัจจุบันได้มีอีเมล์หลอกลวงให้ผู้รับอีเมล์หลงเชื่อซึ่งหลาย ๆ ครั้งทำให้เกิดความเสียต่อผู้รับอีเมล์ เช่น การ เสียเงิน เสียเวลา ปัจจุบันองค์กร Federal Trade Commission (FTC) ของสหรัฐอเมริกาได้ระบุอีเมล์ไว้ 12 ประเภท ที่ผู้ใช้ต้องให้ความระมัดระวัง
1. การสร้างโอกาสทางธุรกิจ อีเมล์นี้จะเสนอรายได้ก้อนใหญ่โดยไม่ต้องทำอะไรมาก
2. อีเมล์การขายสินค้าที่มีกลุ่มผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก (Bulk E-mail) อีเมล์นี้จะเสนอรายชื่อกลุ่ม ผู้ใช้งานอีเมล์ซึ่งมีจำนวนมากและชักชวนว่าสามารถโฆษณาหรือขายสินค้าไปยังกลุ่มผู้ใช้งานอีเมล์นี้ได้
3. อีเมล์ลูกโซ่ชักชวนให้ผู้รับส่งเงินจำนวนเล็กน้อยไปยังผู้ส่งและส่งอีเมล์นี้ไปยังผู้อื่นต่อไป
4. การทำงานที่บ้านโดยลงแรงเล็กน้อย อีเมล์นี้จะเสนอรายได้อย่างสม่ำเสมอ แต่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียม แรกเข้าและทำตามที่อีเมล์ขอให้ทำ แต่ผู้รับไม่มีทางได้รับค่าตอบแทนใดๆ ทั้งสินกลับคืน 5. การรักษาสุขภาพและการควบคุมน้ำหนัก อีเมล์นี้จะเสนอยาประเภทต่างๆ ถ้าหลงเชื่อคำโฆษณาซื้อ ผลิตภัณฑ์มาใช้ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการเสียเงินไปโดยเปล่าประโยชน์
6. รายได้ก้อนโตโดยไม่ต้องเสียแรงมากนัก อีเมล์นี้จะเสนอวิธีร่ำรวยได้อย่างรวดเร็ว
7. สินค้าฟรี อีเมล์นี้จะเสนอให้สินค้าฟรีโดยชำระเงินเพียงเล็กน้อย เช่น เพื่อเข้าเป็นสมาชิก 8. โอกาสการลงทุนที่มีผลตอบแทนสูง อีเมล์นี้จะเสนอผลตอบแทนที่สูงกับการลงทุนที่ไม่มีความเสี่ยง เงินที่ลงทุนไปก็จะสูญไปโดยเปล่าประโยชน์
9. ชุดอุปกรณ์เชื่อมต่อเคเบิลทีวี อีเมล์นี้จะขายชุดอุปกรณ์ส าหรับเชื่อมต่อเข้ากับเคเบิลได้โดยไม่ต้องเสีย ค่าสมาชิก ถึงแม้ว่าจะทำได้จริงแต่เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย
10. การให้เงินกู้หรือสินเชื่อโดยมีเงื่อนไขง่าย ๆ ซึ่งสถาบันการเงินที่ถูกต้องตามกฎหมายจะไม่ใช้วิธีการส่ง อีเมล์แบบนี้
11. การเคลียร์สินเชื่อ อีเมล์นี้จะเสนอช่วยเคลียร์ข้อมูลสินเชื่อที่ติดลบในบัญชีธนาคาร การท าตามที่เสนอ ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย
12. การเสนอให้รางวัลไปเที่ยวฟรี อีเมล์จะเสนอว่าท่านเป็นผู้ที่ได้รับรางวัลไปเที่ยวฟรี ภายหลังก็จะพบว่า ข้อเสนอนั้นไม่เป็นอย่างที่คิด หรือไม่ก็ต้องชะระเงินเพิ่มเติม ค าแนะน า คือ ให้ระมัดระวังโฆษณาชวนเชื่อในลักษณะดังกล่าว และ หมั่นติดตามประเภทของอีเมล์ หลอกลวงในแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
จริยธรรมกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบต่อสังคมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะประเด็นจริยธรรมที่เกี่ยวกับระบบ
สารสนเทศที่จ าเป็นต้องพิจารณารวมทั้งเรื่องความปลอดภัยของระบบสารสนเทศการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหาก
ไม่มีกรอบจริยธรรมกำกับไว้แล้ว สังคมย่อมจะเกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาไม่สิ้นสุด รวมทั้งปัญหาอาชญากรรม
คอมพิวเตอร์ด้วย ดังนั้นหน่วยงานที่ใช้ระบบสารสนเทศจึงจำเป็นต้องสร้างระบบความปลอดภัยเพื่อป้องกันปัญหา
ดังกล่าว กรอบความคิดเรื่องจริยธรรม
หลักปรัชญาเกี่ยวกับจริยธรรม มีดังนี้(Laudon & Laudon, 1999) R.O. Mason และคณะ ได้ จ าแนกประเด็นเกี่ยวกับจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็น 4 ประเภทคือ ความเป็นส่วนตัว (Privacy) ความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy) ความเป็นเจ้าของ (Property) และความสามารถในการเข้าถึงได้ (Accessibility) (O'Brien, 1999: 675; Turban, et al., 2001: 512)
1) ประเด็นความเป็นส่วนตัว (Information Privacy) คือ การเก็บรวบรวม การเก็บรักษา และการ เผยแพร่ ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับปัจเจกบุคคล หรือองค์กร ซึ่งเจ้าของข้อมูลหรือสารสนเทศนั้นๆ มีสิทธิที่จะไม่ เผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะ
2) ประเด็นความถูกต้อง (Information Accuracy) ข้อมูลหรือสารสนเทศที่ดีต้องสามารถตรวจสอบถึง แหล่งที่มาได้ รวมถึงมีการตรวจสอบความถูกต้องก่อนที่จะท าการเผยแพร่ข้อมูลนั้นๆ
3) ประเด็นของความเป็นเจ้าของ (Intellectual Property) คือ กรรมสิทธิ์และมูลค่าของข้อมูล สารสนเทศ (ทรัพย์สินทางปัญญา)
4) ประเด็นของการเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility) คือ เนื่องจากการเข้าถึงข้อมูลท าได้อย่างง่าย ทำให้ เกิดการกำหนดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศเพื่อความปลอดภัยของข้อมูล และสามารถตรวจสอบได้ว่าใคร เป็นผู้บันทึก แก้ไขข้อมูลนั้นๆ
การคุ้มครองความเป็นส่วนตัว (Privacy)
ความเป็นส่วนตัวของบุคคลต้องได้ดุลกับความต้องการของสังคม
สิทธิของสาธารณชนอยู่เหนือสิทธิความเป็นส่วนตัวของปัจเจกชน
การคุ้มครองทางทรัพย์สินทางปัญญา
ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยปัจเจกชน หรือนิติบุคคล ซึ่งอยู่ภายใต้ ความคุ้มครองของกฎหมายลิขสิทธิ์กฎหมายความลับทางการค้า และกฎหมายสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ (copyright) ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 หมายถึง สิทธิ์แต่ผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น ซึ่งเป็นสิทธิ์ในการป้องกันการคัดลอกหรือทำซ้ำในงานเขียน งานศิลป์ หรืองาน ด้านศิลปะอื่น ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวลิขสิทธิ์ทั่วไปมีอายุห้าสิบปีนับแต่งานได้สร้างสรรค์ขึ้น หรือนับแต่ได้มี การโฆษณาเป็นครั้งแรกในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีอายุเพียง 28 ปี
สิทธิบัตร (Patent) ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 หมายถึง หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อ คุ้มครองการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยสิทธิบัตรการประดิษฐ์มีอายุยี่สิบ ปีนับแต่วันขอรับสิทธิบัตร ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะคุ้มครองเพียง 17 ปี
ประโยชน์ของการมีจริยธรรม
1. ประโยชน์ต่อตนเอง ภาคภูมิใจ เป็นที่รักใคร่ เป็นคนดี2. ประโยชน์ต่อสังคม สบสุข ปรองดอง สามัคคี
3. ประโยชน์ต่อประเทศชาติ ความเจริญรุ่งเรือง สามัคคี ความพัฒนา
4. ประโยชน์ต่อองค์กรธุรกิจ ยกระดับมาตรฐานขององค์กร
5. ประโยชน์ต่อการดำรงรักษาไว้ซึ่งจริยธรรม เผยแพร่ รักษาจริยธรรมไปสู่รุ่นต่อไป
จริยธรรมของนักคอมพิวเตอร์
1. มีความรับผิดชอบต่อการขายสินค้าและบริการ 2. ทำงานด้วยความศรัทธา และจริงใจ
3. รักษาผลประโยชน์ของผู้บริโภค
4. นำเสนอคุณภาพสินค้าตามความจริง
5. ไม่เผยแพร่สิ่งที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคม
6. ทำตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบของสังคม
7. ทำประโยชน์ต่อสังคม