พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
จากการที่การใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น ตลอดจนความก้าวหน้าของเทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสารที่กว้างไกล ท าให้ผู้คนในพื้นที่ต่าง ๆ สามารถใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตได้อย่าง
กว้างขวางไร้พรมแดน ในขณะเดียวกันนั้นก็มีผู้ที่นำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาสร้างโอกาสทางธุรกิจ ท าให้เกิด
พัฒนาการในเทคโนโลยีที่ใช้ประกอบการทำธุรกิจ เติบโตขึ้นจนกลายเป็นการค้าผ่านทางช่องทางอินเทอร์เน็ต
หรือที่เรียกว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce : E-Commerce) ส าหรับในปัจจุบันจะเห็นได้
ว่ามีผู้สนใจท าการค้าผ่านช่องทางนี้เป็นจ านวนมาก ทั้งที่เป็นนิติบุคคล บริษัท ห้างร้าน และบุคคลธรรมดา โดย
ที่รูปแบบที่พบเห็นได้บ่อย ได้แก่ การเปิดเว็บไซต์ของตนเอง ตัวอย่างเช่น บริษัท เพาเวอร์บาย จ ากัด ซึ่งเป็น
บริษัทที่จ าหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าในเครือเซ็นทรัล มีการจ าหน่ายสินค้าผ่านเว็บไซต์ (www.powerbuy.co.th)
ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
การพิจารณาประเภทของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั้นสามารถพิจารณาได้จากหลายหลักการ ซึ่งใน
บทเรียนนี้จะใช้หลักการของคู่ค้า
จากหลักการของคู่ค้าเมื่อพิจารณาความเกี่ยวข้องกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้วจะแบ่งกลุ่มบุคคลที่มี
ความเกี่ยวข้องออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่
- กลุ่มธุรกิจ (Business)
- กลุ่มรัฐบาล (Government)
- กลุ่มประชาชน (Citizen) ผู้บริโภค (Consumer) หรือ ลูกค้า (Customer)
ในการพิจารณาความสัมพันธ์นั้นจะมองจากกลุ่มด้านหน้าไปด้านหลัง เช่น Business to Consumer จะ
มองได้ว่า ผู้จ าหน่ายก็คือกลุ่มธุรกิจ และ ผู้ซื้อก็คือกลุ่มของผู้บริโภค และในการเขียนความสัมพันธ์นั้นจะเขียนให้
สั้นขึ้น โดยใช้เลข “2” แทนคำว่า to และใช้ตัวอักษรตัวแรกของแต่ละกลุ่มแทน ดังนั้น จากความสัมพันธ์
Business to Consumer จะเขียนแทนได้ว่า B2C
จากความสัมพันธ์ทั้งหมดที่ได้กล่าวไว้นั้น จะเห็นได้ว่ามีทั้งหมด 9 ลักษณะ แต่ในที่นี้จะได้กล่าวเฉพาะ
ความสัมพันธ์หลัก ๆ ที่พบได้โดยทั่วไปซึ่งมี 5 ลักษณะดังนี้
1. Business to Consumer หรือ Business to Customer (B2C) เป็นลักษณะที่กลุ่มธุรกิจให้บริการ
ขายสินค้าแก่ลูกค้าห รือผู้บ ริโภค ซึ่งจะเป็นป ระเภทที่พบได้มากที่สุด ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ Zalora
(http://www.zalora.co.th) ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่จ าหน่ายสินค้าเครื่องประดับเครื่องแต่งกายให้กับลูกค้าทั่วไป
2. Business to Business (B2B) เป็นลักษณะที่กลุ่มธุรกิจให้บริการขายสินค้ากับกลุ่มธุรกิจด้วยกัน ซึ่ง
โดยส่วนใหญ่จะเป็นในลักษณะขององค์การขนาดใหญ่ที่มีการซื้อขายวัตถุดิบระหว่างกัน เช่น ธุรกิจซีพีออลล์ ธุรกิจ
Microsoft ธุรกิจCisco เป็นต้น
3. Business to Government (B2G) เป็นลักษณะที่กลุ่มธุรกิจให้บริการกับกลุ่มรัฐบาล เช่น การ
ให้บริการจัดซื้อจัดจ้างแก่หน่วยงานรัฐบาล ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกแทนหน่วยงานภาครัฐที่จะต้องเป็นผู้การ
ดำเนินเองทั้งหมด ก็ให้กลุ่มธุรกิจเอกชนดำเนินการลงทุนเทคโนโลยีต่าง ๆ แทนให้ ตัวอย่างเช่น บริษัท กสท
โทรคมนาคม จ ากัด (มหาชน) เป็นผู้ให้บริการในการซื้อจัดจ้างในลักษณะการประมูลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
(E-Auction) ให้หน่วยงานภาครัฐ
4. Government to Citizen (G2C) เป็นลักษณะที่กลุ่มรัฐบาลให้บริการ (ฟรี) กับกลุ่มประชาชน ผ่าน
ทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์การรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา หรือ Admission
(http://www.cuas.or.th/) ซึ่งภาครัฐให้บริการแก่นักเรียนที่ศึกษาส าเร็จในระดับมัธยมศึกษา หรือ ระดับ
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ได้สมัครเพื่อเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในระบบกลาง
5. Consumer to Consumer (C2C) เป็นลักษณะที่กลุ่มผู้บริโภคขายสินค้าให้กับกลุ่มผู้บริโภคด้วย
กันเอง ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นการค้าปลีก สินค้าทำเอง หรือสินค้ามือสอง และมักจะอาศัยเว็บไซต์ตลาดกลางใน
การขายสินค้า เช่น การซื้อขายสินค้าด้วยกันเองของผู้บริโภคโดยผ่านบริการของเว็บไซต์ Pantip Market
(http://www.pantipmarket.com)
กระบวนการซื้อสินค้าด้วยรูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
สำหรับการเลือกซื้อสินค้าของลูกค้า และการขายสินค้ารูปแบบของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั้นก็
สามารถเทียบเคียงได้กับการซื้อขายสินค้าในรูปแบบปกติ แต่ในบางขั้นตอน การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จะสามารถ
เพิ่มเติมความสะดวกสบายในการใช้บริการของลูกค้าได้ ในที่นี้จะได้อธิบายจำแนกเป็นขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
ขั้นที่ 1 การค้นหา เป็นขั้นตอนที่ลูกค้าจะค้นหาร้านที่จำหน่ายสินค้า ซึ่งจะเป็นการค้นหาเว็บไซต์และระบุ
เว็บไซด์ที่ตรงกับความต้องการในการเลือกซื้อของลูกค้า
ขั้นที่ 2 การเลือก เป็นขั้นตอนที่ลูกค้าได้เห็นคุณสมบัติของสินค้าในด้านต่าง ๆ เช่น ภาพสินค้า
รายละเอียดสินค้า คุณภาพสินค้า และราคาสินค้า เป็นต้น โดยที่บางเว็บไซต์อาจมีฟังก์ชันในการเปรียบเทียบสินค้า
ในด้านต่าง ๆ หรือบริการในการติดต่อพนักงานในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าเพิ่มเติมผ่านช่องทางออนไลน์ซึ่ง
สามารถเทียบได้กับการซื้อสินค้าที่ร้านค้าตามปกติ และนอกจากนั้นยังรวมถึงบริการของผู้จ าหน่าย ซึ่งลูกค้าจะเป็น
ผู้เลือกและตัดสินใจว่าจะซื้อสินค้าใด จากเว็บไซต์ไหน
ขั้นที่ 3 การซื้อสินค้าและบริการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นขั้นตอนการซื้อสินค้าและบริการผ่านทางรูปแบบ
อิเล็กทรอนิกส์ โดยที่หลังจากลูกค้าเลือกสินค้าแล้ว ก็จะระบุวิธีการจัดส่งและการชำระเงิน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่
เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในข้อมูลลูกค้า ดังนั้นจึงต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ส าหรับรูปแบบของการช าระ
เงินจะได้อธิบายเพิ่มเติมต่อไป
ขั้นที่ 4 การจัดส่งสินค้า หลังจากที่ลูกค้าได้ซื้อสินค้า ผู้จำหน่ายจะดำเนินการจัดส่งสินค้าซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่
กับลักษณะของสินค้าหรือบริการที่ลูกค้าซื้อ โดยถ้าเป็นสินค้าในกลุ่มที่จับต้องไม่ได้ เช่น ซอฟต์แวร์ เพลง การจอง
ตั๋วต่าง ๆ บริการธนาคารออนไลน์ เป็นต้น ลูกค้าจะสามารถดาวน์โหลดนำไปใช้หรือตรวจสอบผลการให้บริการได้
แต่ถ้าเป็นสินค้าที่จับต้องได้ผู้จ าหน่ายก็จะดำเนินการจัดส่งตามวิธีการและสถานที่จัดส่งที่ลูกค้าได้แจ้งไว้
โดยการจัดส่งนั้นผู้จ าหน่ายอาจใช้บริการจากผู้ให้บริการในการจัดส่งซึ่งมีหลายบริษัท เช่น ไปรษณีย์ไทย DHL
ขั้นที่ 5 การบริการหลังการขาย เป็นขั้นตอนในการให้ความคุ้มครองและสร้างความไว้วางใจให้กับลูกค้า
โดยที่ลูกค้าสามารถติดต่อคืนสินค้า เปลี่ยนสินค้า ซ่อมแซมสินค้า หรือขอคำปรึกษาในเรื่องสินค้า บริการตาม
ระยะเวลาข้อตกลง ซึ่งทั้งนี้ผู้จำหน่ายจะได้มีการเก็บข้อมูลในการซื้อสินค้าต่าง ๆ ของลูกค้าไว้เช่น ชื่อนามสกุล ที่
อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ประวัติการสั่งสินค้า เป็นต้น จะเป็นการเพิ่มความพอใจให้กับลูกค้า และจะเพิ่มความเป็นไปได้
ในการเข้ามาเยี่ยมชมหรือเป็นลูกค้ากับเราอีกครั้งก็ได้
ขั้นที่ 6 การประเมินผลหลังการขาย นอกเหนือจากที่ผู้จำหน่ายอาจจัดให้มีช่องทางในการติดต่อสื่อสาร
เช่น การแจ้งข่าวสารผ่านเว็บไซต์ เว็บบอร์ด หรือเครือข่ายสังคมออนไลน์แล้วนั้น อาจจะมีการช่องทางในการ
ประเมินผลหลังการขาย โดยอาจจะเป็นการจัดอันดับเรตติ้งของผู้จ าหน่าย ความชอบในสินค้า ซึ่งผู้ซื้อจะเป็นผู้ท า
การประเมิน ซึ่งส่งผลดีต่อลูกค้ารายอื่น ๆ ที่มีความสนใจจะได้เข้ามาพิจารณาการประเมินผลของลูกค้าที่เคยใช้
บริการ และเป็นผลดีต่อร้านค้า
การชำระเงินกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ในการซื้อสินค้าผ่านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(ขั้นตอนที่ 3 ของขั้นตอนการซื้อ) มีวิธีการในการรับชำระ
เงินอยู่หลายหลายวิธีการด้วยกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้จำหน่ายสินค้าจะได้จัดให้มีช่องทางในการชำระเงินให้กับผู้ซื้อ
วิธีการใดได้บ้าง สำหรับในบทเรียนนี้จะนำเสนอวิธีการชำระเงินที่เป็นที่นิยมของผู้จำหน่าย ดังนี้
- กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Wallets)
เป็นแนวคิดในการสร้างข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ต
ของลูกค้าแต่ละคนให้เสมือนเป็นกระเป๋าเงินตามปกติที่ใช้งานกัน ซึ่งภายในระบบกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์นั้นจะ
ประกอบด้วยข้อมูล เช่น ข้อมูลตัวบุคคลเจ้าของระบบ ข้อมูลที่อยู่ ข้อมูลบัตรเครดิต เงินสดอิเล็กทรอนิกส์
(Electronic cash) เป็นต้น ซึ่งเงินสดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic cash) คือ จำนวนเงินที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการ
ค านวณการเก็บ และการใช้การจ่ายผ่านทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถทำได้โดยลูกค้าจะเปิดบัญชีกับธนาคาร
และกำหนดเอกลักษณ์ขึ้นมาเอง จากนั้นจะได้รับเงินสดอิเล็กทรอนิกส์มา เมื่อลูกค้าต้องการถอนเงินออกจาก
ธนาคาร หรือซื้อสินค้าก็สามารถทำผ่านอินเทอร์เน็ต โดยจะแสดงสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ เพื่อตรวจสอบ เมื่อธนาคาร
ตรวจสอบเอกลักษณ์เรียบร้อยแล้วจะแสดงจำนวนเงินที่ลูกค้าต้องการออกมา และ ทำการลดจำนวนเงินจากบัญชี
ของลูกค้าออกตามที่ลูกค้าต้องการ และสำหรับในการเลือกซื้อสินค้าของลูกค้านั้น เว็บไซต์จะได้มีการจัดเตรียม
หน้าการช าระเงินที่สามารถเชื่อมโยงกับ กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ จากนั้นก็จะสามารถระบุการช าระเงินว่าจะใช้
ข้อมูลบัตรเครดิต หรือเงินสดอิเล็กทรอนิกส์อีกทีหนึ่ง
- เช็คอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Checks)
มีพื้นฐานจากเช็คโดยปกติที่เป็นกระดาษ แต่ได้มีการ
ปรับเปลี่ยนโดยนำเทคโนโลยีมาประกอบการทำงานให้มีความสะดวกขึ้น เช่น เทคโนโลยีลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
(Digital Signatures) นำมาใช้ตรวจสอบข้อมูลการช าระเงินของผู้ซื้อสินค้าแทนการลงชื่อกำกับบนเช็คแบบปกติ
ซึ่งจะเป็นการรับรองผู้ชำระเงิน รับรองธนาคารของผู้ชำระเงิน และบัญชีธนาคาร
- การชำระผ่านบริษัทไปรษณีย์ไทย
บริษัทไปรษณีย์ไทยทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการจัดส่งเงินหรือ
เอกสารแทนเงิน จากผู้ซื้อไปยังผู้จำหน่าย ซึ่งมีบริการที่หลายลักษณะ เช่น บริการธนาณัติ บริการตั๋วแลกเงิน
บริการไปรษณีย์เก็บเงิน รวมไปถึงบริการเพย์ แอท โพสท์ ซึ่งการใช้บริการทางการเงินของบริษัทไปรษณีย์ไทยใน
ปัจจุบันก็มีความสะดวกเนื่องจากมีหน่วยให้บริการในพื้นที่ต่าง ๆค่อนข้างมาก
- การชำระเงินผ่านธนาคาร
การใช้บริการชำระค่าสินค้าผ่านทางธนาคารส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของการ
โอนเงินซึ่งลูกค้าจะต้องทราบหมายเลขบัญชี หรือข้อมูลผู้จำหน่ายสินค้าก่อนจึงจะช าระเงินได้ ซึ่งวิธีการนี้มีความ
สะดวกเนื่องจากในปัจจุบันมีบริการของธนาคารออนไลน์ หรือตู้ATM มากขึ้น แต่มีความเสี่ยงถ้าหากผู้ซื้อโอน
เงินไปให้ก่อนแต่ผู้จำหน่ายยอมไม่ส่งสินค้ามาให้
การชำระเงินผ่านบัตรชำระเงิน
บัตรชำระเงินที่มีการใช้งานอยู่ในปัจจุบันมี 3 ลักษณะ
1. บัตรเครดิต (Credit Card) เป็นบัตรที่มีการให้วงเงินพิเศษกับผู้ถือบัตร ซึ่งใช้ในการซื้อสินค้า และเมื่อ
ถึงกำหนดจ่ายเงิน จึงจ่ายเงิน ซึ่งสามารถจ่ายแบบเต็มจำนวนหรือบางส่วนก็ได้ตามแต่เงื่อนไขของบริษัทผู้ออกบัตร
อย่างไรก็ตาม ความปลอดภัยของข้อมูลที่มีการถ่ายโอนทางอินเทอร์เน็ตยังเป็นที่วิตกสำหรับลูกค้า ผู้ให้บริการบัตร
เครดิต ได้แก่ บริษัทวีซ่าและมาสเตอร์การ์ดก็ได้ใช้วิธีการรักษาความปลอดภัย ที่เรียกว่า SET (Secure
Electronic Transaction) ทำให้มีความมั่นใจในการใช้บริการได้มากยิ่งขึ้นฃ
2. บัตรเดบิต (Debit Card) เป็นบัตรที่มีการเชื่อมโยงวงเงินเข้ากับบัญชีเงินฝาก ดังนั้นในการใช้บัตรใน
การซื้อสินค้า จะต้องมีเงินคงเหลือในบัญชีและเมื่อซื้อสินค้าก็จะตัดวงเงินจากบัญชีโดยทันที
3. บัตรชาจต์ (Charge Card) เป็นบัตรที่ใช้ซื้อสินค้าก่อนแล้วจ่ายภายหลัง คล้ายบัตรเครดิต แต่จะไม่มี
การจ ากัดวงเงินในการใช้จ่าย และเมื่อถึงกำหนดชำระเงินจะต้องจ่ายเต็มจำนวน เช่น บัตร American Express
เป็นต้น
ภัยคุกคามต่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบัน มักจะมีภัยคุกคามต่อการดำเนินธุรกิจ ซึ่งในที่นี้ได้นำเสนอตัวอย่าง
ภัยคุกคามสำหรับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ดังนี้
- ความปลอดภัย (Security)
การใช้งานพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จะมีโอกาสสุ่มเสี่ยงต่อความปลอดภัยของการใช้งาน เช่น การจารกรรม
ข้อมูลบัตรเครดิต เป็นต้น
- ทรัพย์สินทางปัญญา (Theft of intellectual property)
การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เช่น การละเมิดลิขสิทธิ์เพลงออนไลน์ การขายสินค้าปลอม การปลอม
แปลงเครื่องหมายการค้า เป็นต้น ซึ่งการซื้อขายดังกล่าวเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และสินค้าที่เป็นของปลอม
แปลงนั้น อาจส่งผลเสียต่อผู้บริโภคด้วยฃ
- กลโกงทางอินเทอร์เน็ต (Fraud)
มีหลายลักษณะ เช่น การฉ้อโกงทางโทรศัพท์ โดยการหลอกคืนภาษีและให้ท าธุรกรรมผ่านตู้ATM
การส่งข่าวสารปลอมผ่านทางอีเมล์ (Phishing) โดยหลอกให้ผู้ใช้เข้าใจว่ามาจากองค์การที่น่าเชื่อถือ และสร้าง
เว็บไซต์ปลอมที่เหมือนกับเว็บไซต์จริงแล้วหลอกให้ผู้ใช้งานกรอกข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลที่มีความสำคัญลงไป การ
โกงของมือสองออนไลน์ เช่น การสร้างเว็บไซต์เพื่อขายสินค้า แต่ไม่มีสินค้าอยู่จริง ๆ และเมื่อลูกค้าจ่ายเงิน ก็ไม่มี
สินค้าส่งให้ ซึ่งถ้าลูกค้าจะติดตามก็ทำได้ยาก เพราะข้อมูลที่ปรากฏทางเว็บไซต์อาจจะเป็นข้อมูลปลอม เป็นต้น
- การคุกคามความเป็นส่วนตัว (Invasion of privacy)
การคุมคามความเป็นส่วนตัว เช่น สแปมเมล์ (Spam Mail) เป็นประเภทหนึ่งของอีเมล์ขยะ (Junk
Mails) โดยจุดประสงค์ของผู้ส่งสแปมเมล์ มักต้องการโฆษณาสินค้าหรือบริการต่าง ๆ ไปหาคนจำนวนมาก โดยผู้
ส่งไม่จำเป็นต้องรู้จักเป้าหมายมาก่อน และการละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภค เช่น การดักฟังโทรศัพท์
หรือ การบันทึกพฤติกรรมการเข้าใช้งานเว็บไซต์ของลูกค้า เพื่อน าไปใช้ประโยชน์ทางการค้า เป็นต้น
- ความไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต (Lack of internet access)
เนื่องจากการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั้นจำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นอย่างมาก ดังนั้นถ้าหาก
พื้นที่ในการให้บริการของอินเทอร์เน็ตไม่ครอบคลุม ก็จะส่งผลต่อการท าธุรกิจ รวมถึงความคมชัด หรือความแรง
ของสัญญาณอินเทอร์เน็ตก็ส่งผลต่อการทำธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
- ขอบเขตอำนาจของกฎหมายและภาษี(Legal jurisdiction and taxation)
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ถึงแม้จะเป็นการท าการค้าไร้พรมแดน แต่ในบางประเทศนั้นจะมีการกำหนดข้อ
กฎหมายควบคุม หรือห้ามจำหน่ายสินค้าบางอย่าง เช่น อาวุธ หรือยา เป็นต้น รวมไปถึงอาจมีการกำหนดอัตรา
ภาษีต่าง ๆ ไว้เพื่อควบคุมการจำหน่ายสินค้า
กลโกง การป้องกัน และวิธีการแก้ปัญหาจากการใช้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กลโกง การหลอกลวงของผู้จ าหน่าย
ในการใช้งานพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ลูกค้าอาจพบกับปัญหา ซึ่งอาจเป็นกลโกงของผู้จ าหน่ายสินค้าได้
หลายรูปแบบ ซึ่งในที่นี้จะได้ขอตัวอย่างเพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบ เช่น
- การหลอกลวงให้เปิดเผยข้อมูลทางการเงินหรือบัตรเครดิต อาจพบได้ในกรณีที่ลูกค้าซื้อสินค้าจาก
เว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ หรือเว็บไซต์ที่ไม่มี วิธีการป้องกันใน ก รส่งข้อมูลทางการเงิน (อ้ างอิง :
www.pawoot.com/online-fraud)
- การเปิดร้านค้าปลอม โดยอาจเปิดเว็บไซต์เพื่อดึงดูดลูกค้าใหม่ หลอกให้ลูกค้า โอนเงิน แต่ไม่ส่งสินค้าไป
ให้
- การหลอกประกาศขายสินค้า ใช้ข้อความประกาศว่าเป็นสินค้าราคาถูก และบางครั้งอาจพบว่าร้านค้ามี
การให้ที่อยู่ปลอมเพื่อความน่าเชื่อถือ และหลอกให้โอนเงินไปให้ โดยส่วนใหญ่มักพบในกลุ่มสินค้าราคาสูง เช่น
กล้องถ่ายรูป โทรศัพท์สมาร์ทโฟน เป็นต้น
- การส่งสินค้าปลอม สินค้าไม่ถูกลิขสิทธิ์ หรือสินค้าที่ไม่ตรงกับที่สั่งซื้อ
- การโฆษณาสินค้าที่หลอกลวงในสรรพคุณมากเกินจริง เช่น ยา วิตามิน อาหารเสริมต่าง ๆ (อ้างอิง :
www.thaiall.com/article/10method.htm)
- การหลอกลวงในการประมูลสินค้า เช่น ผู้จ าหน่ายไม่ส่งสินค้าให้ผู้ชนะการประมูลเพราะไม่มีสินค้าจริง ,
การปั่นราคาให้ราคาสูงเกินจริง เป็นต้น (อ้างอิง : www.nextproject.net/content/?00097)
การป้องกันเพื่อการซื้อสินค้า
จากตัวอย่างกลโกง การหลอกลวงต่าง ๆ นั้น ในฐานะของผู้ซื้ออาจมีวิธีการในการป้องกันได้โดยสามารถ
พิจารณาได้ด้วยหลักการดังนี้
1. ผู้ซื้อควรเลือกซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้จำหน่ายที่น่าเชื่อถือ คือ มีรายละเอียดชื่อ ที่อยู่ของผู้จำหน่าย
สินค้า หรือวิธีที่สามารถติดต่อได้ โดยอาจค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมผ่านเว็บไซต์ Search engine เช่น Google หากไม่
มั่นใจผู้จ าหน่าย ก็ควรหลีกเลี่ยงไปใช้บริการของร้านค้าที่เป็นที่รู้จัก
2. อย่าเห็นแก่ราคาสินค้าที่ถูกเกินไป และพยายามเร่งรัดและระมัดระวังในการซื้อสินค้า รวมถึงต้องเก็บ
หลักฐานการซื้อสินค้าเอาไว้เสมอ
3. ห้ามให้ข้อมูลส าคัญ เช่น หมายเลขบัตรประชาชน เป็นต้น และถ้าหากเป็นการชำระเงินด้วยบัตร
เครดิตทางอินเทอร์เน็ต ผู้ซื้อต้องระวังการให้ข้อมูลบัตรเครดิต เช่น หมายเลขบัตร วัน เดือน ปีที่บัตรหมดอายุ หรือ
ข้อมูลส่วนบุคคลแก่ผู้จำหน่ายสินค้าที่ไม่น่าไว้วางใจ หรือไม่มีระบบรักษาความปลอดภัยขณะช าระเงิน และควร
สอบถามหรือตรวจสอบสัญญาหรือเงื่อนไขบัตรชนิดต่าง ๆ กับธนาคารหรือบริษัทที่ออกบัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือ บัตรที่สามารถช าระเงินทางอินเทอร์เน็ตได้ว่า ผู้ถือบัตรจะได้รับความคุ้มครองในกรณีใดบ้าง และมีข้อควรปฏิบัติ
อะไรบ้าง
4. ถ้าหากเป็นผู้จำหน่ายสินค้ารายใหม่ หรือยังไม่เป็นที่รู้จักในตลาด ก็ไม่ควรโอนเงินหากยังไม่ได้รับสินค้า
หรือถ้าเป็นไปได้ควรนัดรับสินค้าและตรวจสอบให้เรียบร้อยก่อนการชำระเงิน
5. สังเกตการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้จำหน่ายสินค้า เพื่อสร้างความน่าไว้วางใจในเว็บไซต์
ที่ให้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ผู้จำหน่ายสินค้าควรจะจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กับกรมพัฒนาธุรกิจ
การค้า กระทรวงพาณิชย
6. สังเกตการใช้โปรโตคอล SSL (Secure Sockets Layer) เพื่อรักษาความปลอดภัยและความเป็น
ส่วนตัว เว็บไซต์มีการรักษาความปลอดภัยอย่างเช่นเว็บไซต์ของธนาคาร หรือ เว็บไซต์ขายสินค้าที่มีความน่าเชื่อถือ
มักจะมีการรักษาความปลอดภัยด้วยโปรโตคอล SSL ซึ่งสังเกตได้จาก การมีสัญลักษณ์รูปแม่กุญแจปิดล็อค และ
นอกจากนั้นที่ URL จะเปลี่ยนจาก โปรโตคอล http:// เป็น https://
วิธีการแก้ปัญหาเมื่อพบว่าโดนโกง
ถ้าหากลูกค้าพบปัญหาว่าตนเองโดนโกงไปแล้วควรรวบรวมข้อมูลหลักฐาน เพื่อติดตามคนร้าย
อาทิเช่น (อ้างอิง : www.pawoot.com/online-fraud)
- หมายเลข IP address ของคนร้าย (ช่วงเวลาและสถานที่)
- หมายเลขโทรศัพท์คนร้าย
- E-Mail คนร้าย
- บัตรประชาชนที่คนร้ายใช้อ้าง
- วัน เวลา สถานที่ ลงประกาศ นัดเจอ โอนเงิน
- เลขบัญชี การเดินทางของเงินในบัญชี ทั้งข้อมูลธนาคาร สาขา การโอนเงิน
- การสังเกตน้ำเสียงและลักษณะของคนร้าย
จากนั้นให้ดำเนินการแก้ปัญหาได้ ในช่องทางต่าง ๆ ดังนี้
- เก็บรวมรวมหลักฐานต่าง ๆ แล้วไปแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ และจากนั้นติดต่อกองบังคับ
การปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี(http://www.tcsd.in.th) เพื่อ
ประสานติดตามเรื่องต่อไป
- ติดต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานเพื่อคุ้มครองการซื้อ
สินค้าจากตัวแทนขายตรง คุ้มครองตัวแทนขายตรงจากเจ้าของสินค้าและยังครอบคลุมถึงการค้าแบบ
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ด้วย
- กรณีชำระค่าสินค้าโดยการโอนเงิน ให้รีบติดต่อธนาคารโดยอาจติดต่อขอระงับการโอนเงิน ซึ่ง
ทางธนาคารจะทำการยกเลิกการโอนเงินให้โดยติดตามนำเงินจากบัญชีปลายทางที่โอนไปกลับมาคืน ซึ่ง
วิธีการนี้โดยส่วนมากมักได้ผลถ้าหากรีบดำเนินการเมื่อพบความผิดปกติ
- กรณีชำระค่าสินค้าด้วยบัตรเครดิต ซึ่งหากพบรายการผิดปกติใด ๆ หรือเชื่อว่าตนอาจถูกหลอก
หรือมีผู้ใช้บัตรเครดิตโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องรีบแจ้งให้เจ้าหน้าที่ของบริษัทหรือธนาคารที่ออกบัตรทราบ
และทำหนังสือปฏิเสธการใช้บัตรเพื่อระงับรายการนั้นไว้ชั่วคราว
จริยธรรมและมารยาทในการใช้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ในฐานะของผู้ใช้งานพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ก็จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้จริยธรรมและรักษามารยาทต่อการใช้
งาน สามารถสรุปได้ดังนี้
- ด้านการสนทนา ทั้งผู้ซื้อและผู้จำหน่ายควรรักษามารยาทในการสนทนาโดยการเลือกใช้ภาษาที่สุภาพ
ในการโต้ตอบและการเจรจา รวมถึงควรตรวจสอบการสะกดค าต่าง ๆ เนื่องจากในอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นพื้นที่
สาธารณะที่ใครก็สามารถเข้ามาอ่าน และอาจมีเด็กที่เข้ามาอ่านได้ด้วย ตลอดจนข้อมูลใด ๆ ที่น าเสนอบน
อินเทอร์เน็ตอาจมีผลผูกพันทางกฎหมายได้
- ด้านการเลือกซื้อสินค้า ในฐานะของผู้ซื้อสินค้าก็ควรเลือกซื้อสินค้าที่ถูกต้องตามลิขสิทธิ์ รวมถึงถูกต้อง
ตามกฎหมายของประเทศ
- ด้านการชำระเงิน ผู้ซื้อสินค้าควรชำระเงินให้ตรงตามกำหนดวันเวลาที่ผู้จำหน่ายสินค้าได้แจ้งไว้ เพื่อ
ไม่ให้เกิดปัญหาเรื่องของการยกเลิกการขายโดยไม่ชำระเงิน แต่ถ้าหากไม่ต้องการซื้อสินค้าแล้วก็ควรแจ้งแก่ผูจ าหน่ายสินค้า เพื่อจะได้ไม่เป็นการกีดกันผู้ซื้อรายอื่นที่ต้องการได้รับสินค้าจริง ๆ และนอกจากนั้นแล้วจะต้อง
ตรวจสอบการช าระเงินและเก็บเอกสารไว้เผื่อเกิดปัญหา
- ด้านการให้ข้อมูล ผู้ซื้อควรให้ข้อมูลที่เป็นจริง ที่จ าเป็นแก่ผู้จำหน่ายสินค้าเพื่อเป็นการแสดงถึงความบริสุทธิ์ใจการซื้อสินค้า เพราะบางครั้งผู้จำหน่ายสินค้าเองก็อาจโดนลูกค้าโกงได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้รวมถึงถ้าหาก
ผู้จำหน่ายสินค้ามีบริการในส่วนของการสอบถามความพึงพอใจ ในฐานะลูกค้าก็ควรให้ข้อมูลที่เป็นจริงเพื่อที่จะได้
เป็นประโยชน์ต่อผู้จำหน่ายสินค้า และผู้ซื้อรายอื่น ๆ
- ด้านความไว้วางใจ ผู้ซื้อเองต้องเลือกซื้อจากผู้จำหน่ายสินค้าที่น่าเชื่อถือ อย่าเห็นแก่ของราคาถูก อย่า
เชื่อใจและไว้ใจมากเกินไป หากเกิดปัญหาขึ้นมาภายหลังอาจจะยุ่งยากในการติดตาม
- ข้อสุดท้ายผู้ซื้อควรจะต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจในวิวัฒนาการของเทคโนโลยี และกฎหมาย ที่
เกี่ยวข้องกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อยู่เสมอ
ข้อดี และข้อเสียของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ข้อดีของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1. ประหยัดค่าใช้จ่ายเพื่อการเดินทางไปซื้อสินค้า เพียงแค่เลือกซื้อผ่านเว็บไซต์เท่านั้น
2. ประหยัดเวลาในการติดต่อ แค่ใช้เวลาไม่นานแค่เพียงไม่กี่วินาทีเราก็สามารถติดต่อซื้อสินค้าได้
3. การเปิดร้านค้าในอินเตอร์เน็ตเป็นการขยายตลาดสู่ทั่วโลก ไม่จำกัดเฉพาะแค่ในประเทศ และยังทำให้
ผู้บริโภคมีตัวเลือกในการได้เลือกซื้อสินค้ามากยิ่งขึ้น
4. ผู้จ าหน่ายสินค้าสามารถเปิดร้านได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมงไม่มีวันหยุด และผู้บริโภคก็สามารถซื้อสินค้า
ได้ทุกวัน
ข้อเสียของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1. ผู้ซื้ออาจซื้อแล้ว แต่ไม่ได้รับสินค้าจริง หรือได้รับสินค้าที่ไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือสินค้าชำรุดเสียหาย
หรือสูญหาย
2. สินค้าอาจเป็นสินค้าที่ไม่ผ่านการทดสอบ หรือสินค้าไม่มีคุณภาพ
3. เสี่ยงต่อการถูกฉ้อโกง หรือถูกโกงราคาหรือถูกหลอกลวงได้ง่าย
4. ข้อมูลสินค้าบางอย่างอาจมีการโอ้อวดคุณภาพสินค้าเกินจริง โดยที่เราไม่สามารถตรวจสอบได้
5. ในระบบกฎหมายของไทย ยังไม่มีการให้ความคุ้มครองอย่างทั่วถึงเพียงพอ ความปลอดภัยในข้อมูลทาง
อินเตอร์เน็ตจึงยังไม่ปลอดภัยพอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น